เมื่อวันที่ 30 พ.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า กนง.มีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1% เป็น 1.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นแรงส่ง และช่วยลดผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ แต่ยังต้องติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงและอาจชะลอตัวมากกว่าคาด และความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ การขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ได้พิจารณาถึงต้นทุนดอกเบี้ยของประชาชนไว้แล้ว เชื่อว่าธนาคารจะส่งผ่านต้นทุนนี้ไปยังลูกค้าบ้าง เป็นการทยอยขึ้น และครัวเรือนมีความเปราะบางอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย ถ้า กนง.ขึ้นดอกเบี้ยแบบกระชาก จะทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเร็วและจะกระทบต่อการจ่ายดอกเบี้ยของผู้กู้ได้ ซึ่งฝั่งผู้กู้เองก็ต้องชั่งน้ำหนักเพื่อการบริโภคหรือการลงทุนต้องมองต้นทุนเพิ่มขึ้นด้วยว่าคุ้มหรือไม่ และดูสถานะการเงินของตนเองเป็นอย่างไรโดยธปท.ยังมีมาตรการแก้หนี้ ช่วยดูแลกลุ่มเปราะบางที่เจอแรงกระแทกไม่คาดฝันได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“อยู่ที่ธนาคารจะบริหารต้นทุนอย่างไร แต่การส่งผ่านดอกเบี้ยก็มีเหมือนในอดีต ซึ่งในส่วนภาระการนำส่งเงินเอฟไอดีเอฟในปีหน้าของธนาคาร ธปท.พุดคุยกันมาตั้งแต่แรก พอต้นทุนเพิ่มเป็นธรรมชาติที่การส่งผ่านจะไปยังผู้กู้ แต่การส่งผ่านอยู่ที่แบงก์ว่าดูต้นทุนกับราคาอย่างไร คาดว่าจะส่งผ่านต้นทุนไประดับหนึ่งไปสู่ลูกค้า”
นอกจากนี้ยังได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 65 คาดจะขยายตัว 3.2% จากเดิม 3.3% และในปี 66 ขยายตัว 3.7% จาก 3.8% ส่วนในปี 67 คาดขยายตัว 3.9% โดยภาคการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวชัดเจน การบริโภคภาคเอกชนได้รับแรงสนับสนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวทั่วถึงมากขึ้น
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ที่ 6.3% ในปี 65 และ 3% ในปี 66 ส่วนปี 67 อยู่ที่ 2.1% โดยเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดในไตรมาส 3 ปี 65 ไปแล้ว โดยในปี 66 เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเทียบกับประมาณการครั้งก่อนจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า แต่จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยจะทยอยลดลงอยู่ที่ 2.6% ในปี 65 และ 2.5% ในปี 66 ส่วนปี 67 อยู่ที่ 2% โดยยังต้องติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น และการปรับราคาพลังงานในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอน.