นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือเมติ ประเทศญี่ปุ่น ถึงกรอบความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรม 2 ประเทศว่า ได้ร่วมประชุมกับ นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รมว.เมติ หารือเพิ่มเติมถึงแนวทางการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม และกำหนดทิศทางดำเนินงานความร่วมมือในอนาคต ระหว่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ การประชุมครั้งนี้เน้นการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ใน 3 ประเด็น คือ แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการขับเคลื่อนนโยบายบีซีจี หรือโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น โดยเฉพาะภาคเอสเอ็มอีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“การแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไทย เน้นการสร้างโอกาสด้านการค้าและการลงทุน รวมถึงโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ผ่านการถอดบทเรียนหลังการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสอดคล้องกับบีซีจี โมเดลของไทย ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม และเมติ ร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการใช้เทคโนโลยีเข้ามายกระดับภาคการผลิตตามเป้าประสงค์ต่างๆ เช่น วิธีการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ โมโนซึกุริ ที่ใช้พลังกลที่มีอยู่ในธรรมชาติแก้ปัญหาซึ่งสามารถลดต้นทุนค่าพลังงาน”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือดำเนินงานโครงการการจัดตั้งศูนย์ต้นแบบการจัดการซากยานยนต์แบบครบวงจรในประเทศไทย ช่วยการกำจัดขยะรถยนต์ที่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในไทย และโครงการศึกษาแนวทางในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการลงนามร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายจากไทยและญี่ปุ่นไปแล้ว และได้รับการสนับสนุนจากเมติในการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนด้วยพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดที่หลากหลาย
ทั้งนี้ แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 กระทบต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรมไทยและทั่วโลก แต่ญี่ปุ่นยังคงเป็นคู่ค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยจากข้อมูลสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรายเดือนสะสมเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า โครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 198 โครงการ เงินลงทุน 77,290 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดบริการและสาธารณูปโภค รองลงมาเป็นหมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เฉพาะญี่ปุ่น มีจำนวน 45 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 13,788 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของโครงการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นายสุริยะ กล่าวทิ้งท้าย
นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้ตัดสินใจให้การสนับสนุนการลงทุนในประเทศไทย เพื่อขยายฐานการผลิตของบริษัทญี่ปุ่น โดยปัจจุบันบริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่หลายรายต่างมีแผนการขยายฐานการผลิตมายังไทย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท โซนี่กรุปคอร์ปอเรชัน ที่ต้องการขยายโรงงานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ บริษัท เอจีซี ที่มีแผนการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 แสนล้านเยน และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ที่มีการลงนามเอ็มโอยู กับภาครัฐของไทยในด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี