รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ เวลา 09.00-12.00 น. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) สำหรับการศึกษาความเหมาะสมในการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 8 หรือ M8 สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 79,006 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 61,000 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 18,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทลคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. จึงขอเชิญชวนภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และผู้สนใจ เข้าร่วมประชุมในรูปแบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่าน Zoom Cloud Meetings เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้รับ มาใช้ประโยชน์ในการศึกษาประกอบการกำหนดแนวทาง และรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าว ที่ผ่านมา ทล. ได้มีการศึกษาทบทวนรูปแบบและขอบเขตการให้เอกชนร่วมลงทุน ตามติคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ รวมทั้งแนวเส้นทาง เนื่องจากที่ผ่านมา แนวเส้นทางในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ยังมีประชาชนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวเส้นทางเดิมที่ ทล. เคยศึกษาไว้แล้ว
ประกอบกับปัจจุบันมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ทำให้การนำงบประมาณมาใช้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากรัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการดูแลโควิด-19 ให้ประชาชนมากกว่าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ มีมูลค่าการลงทุนจำนวนมาก
ดังนั้นการศึกษาทบทวนดังกล่าว เดิมโครงการจะมีการก่อสร้างพร้อมกันทั้งหมด แต่ทั้งนี้การศึกษาครั้งนี้อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการก่อสร้างใหม่ ซึ่งแบ่งเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสมและพิจารณาในพื้นที่ที่มีความพร้อมก่อน เพื่อความรวดเร็ว และการจัดหางบประมาณมาดำเนินการ หากมีการเปลี่ยนเส้นทาง ถ้ามีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะทำการศึกษารายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ควบคู่ด้วยคำพูดจาก ทดลองใช้ สูตรสล็อต
หากผลการศึกษาแล้วเสร็จจะนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ และคัดเลือกเอกชนตามขั้นตอนการร่วมลงทุน ในปี 65-66 ดำเนินการก่อสร้างช่วงปี 67 และเปิดให้บริการปี 70
สำหรับแนวเส้นทาง M8 มีจุดเริ่มต้นเชื่อมมอเตอร์เวย์หมายเลข 81 (M81) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี บริเวณทางแยกต่างระดับนครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ผ่าน จ.ราชบุรี และ จ.สมุทรสงคราม สิ้นสุดที่ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี รูปแบบมีขนาด 4 ช่องจราจร มีด่านเก็บค่าผ่านทาง 9 แห่ง ได้แก่ 1.ด่านนครชัยศรี 2.ด่านตลาดจินดา 3.ด่านบางแพ 4.ด่านราชบุรี 5.ด่านวัดเพลง 6.ด่านปากท่อ 1 7.ด่านปากท่อ 2 8.ด่านเขาย้อย และ 9.ด่านท่ายาง
ส่วนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางได้กำหนดให้จัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบปิด ซึ่งคิดค่าธรรมเนียมตามระยะทางที่ใช้จริง โดย ทล. จะกำหนดให้มีวิธีการจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งแบบเงินสด และแบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถพัฒนาสู่ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane Free Flow)หรือระบบM-Flowได้ในอนาคต
เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะทำให้การเดินทางสู่ภาคใต้มีความสะดวก รวดเร็ว คล่องตัวมากขึ้น เพราะช่วยแบ่งเบาปริมาณการจราจรจากทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) นอกจากนี้ยังช่วยเชื่อมการเดินทางไปยังแหล่งเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาค ตลอดจนรองรับปริมาณการเดินทางและการขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตด้วย