การรับพิจารณาคำร้องกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเข้าชื่อขอให้วินิจฉัยการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และมีมติ 5 ต่อ 4 ให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะมีคำสั่ง ซึ่งคาดเดากันว่าน่าจะเป็นภายในวันที่ 28 .. 65

เมื่อรูปการณ์ ออกมาเช่นนี้ ก็เท่ากับว่า “ยอมถอย 1 ก้าว” เพื่อหาทางแก้ปัญหา ที่สำคัญ!! ยังเป็นการชะลอความรุนแรงจากสถานการณ์ชุมนุม ที่ออกมา “กดดัน” ส่วนผลการตัดสินจะออกมาอย่างไรไม่มีใครคาดเดาได้ แต่บรรดาคอการเมืองหลายฝั่งต่างให้น้ำหนักไปที่ “ไม่รอด” แต่น้ำหนักที่ให้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะ 100% บางคนให้แค่ 60/40 บางคนก็ให้ 50/50

ลุ้นอนาคตนายกรัฐมนตรี

นั่นหมายความว่า…ยังไม่มีใครสามารถฟันธงได้ชัดเจนว่า สุดท้ายแล้ว อนาคตของนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา” จะออกมาเป็นเช่นไรกันแน่ ไม่เพียงเท่านี้ มุมมองของคนไทยทั้งประเทศ ก็ยังคงแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่เชียร์ก็มีไม่น้อย ฝ่ายที่ต่อต้านก็มีมาก บางฝ่ายก็มองว่า จะเปลี่ยนตัวตอนนี้หรือตอนไหน ก็ต้องเปลี่ยน เพราะตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อรัฐบาลครบวาระ ก็ต้องมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ที่คาดกันว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายของไตรมาสแรกของปี 2566

ณ เวลานี้ คงไม่มีใครคาดเดาสถานการณ์ที่ชัดเจนได้ คงได้แต่ตามติดมุมมอง กระแส และสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้อย่างใกล้ชิดตลอดเดือน ก..นี้ จนกว่าคำตัดสินที่ชัดเจนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะออกมา ซึ่งถามว่า? ในมุมมองของภาคเอกชน รู้สึกอย่างไรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง? จะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด?

เศรษฐกิจเคยชินการเมือง

เชื่อได้เลยว่าทุกฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่า ในมุมของภาคเศรษฐกิจแล้ว การเมืองเปลี่ยน ก็เป็นเรื่องของการเมือง ตราบใด ที่ไม่หักมุม ยกเลิกสารพัดมาตรการแบบพลิกฝ่ามือ ตราบนั้นภาคเศรษฐกิจก็ไม่ตระหนก เพราะต่างคุ้นชินมานาน และตามธรรมชาติของนักลงทุนแล้วไม่ได้มองที่นโยบายรัฐบาลเพียงแค่วันนี้ หรือพรุ่งนี้ แต่ให้ความสำคัญกับนโยบายในระยะยาว ที่สำคัญ หากดูกันตรง ๆ แล้ว ถ้าเศรษฐกิจไทยไม่ซวนเซจากผลกระทบที่เกิดขึ้นสารพัดทั่วโลก เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งและมั่นคงที่สุดในภูมิภาคนี้

ผลงานมีจำนวนไม่น้อย

ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า ในช่วง 8 ปี ของนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม้ประชาชนคนไทยต้องตกอยู่ในยุคข้าวยากหมากแพงก็ตาม แต่ก็ยังมีผลงานโดดเด่นให้เห็นพอเป็นหน้าเป็นตาได้บ้างพอควร แม้ระยะหลังจะเกิดอาการแผ่วไปบ้าง โดยเฉพาะการประกาศนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือที่เรียกกันติดปากว่า โครงการอีอีซี ที่เป็นการต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ตะวันออกต่อจากโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดโดยมีการออกกฎหมายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเมื่อปี 2561 ถือเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแรกที่มีการออกกฎหมายเฉพาะ และยังเตรียมประมูลโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน

นอกจากนี้ยังมีนโยบายการก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ต้องเดินหน้าพัฒนาอย่างจริงจัง รวม10 อุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ที่เน้นส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อยกระดับรายได้ของประเทศสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือแม้แต่การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทั่วประเทศ ที่เห็นได้ชัด ก็เรื่องของการประมูลรถไฟฟ้าสารพัดสี ทั้งสายสีเหลือง สายสีชมพู สายสีแดงส่วนต่อขยาย เป็นต้น

ระบบพร้อมเพย์สุดปัง

ที่เห็นได้ชัด!! และต้องยกนิ้วให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง คือความสำเร็จในเรื่องของการวางระบบการชำระเงินแห่งชาติ หรือระบบพร้อมเพย์เพื่อลดต้นทุนของการชำระเงินและการโอนเงินของประชาชนรวมทั้งลดค่าใช้งบประมาณสำหรับการจัดพิมพ์ธนบัตรโดยสร้างแรงจูงใจการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดด้วยการลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินที่เป็นรายได้หลักของธนาคาร รวมไปถึงการก่อกำเนิดแอพพลิเคชั่น “เป๋าตัง” และ “เป๋าตุง”

แต่ก็ต้องยอมรับว่า…หนทางของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้เดินด้วยกลีบกุหลาบ เพราะมีทั้งสงครามของมหาอำนาจในโลกตะวันตก กับโลกตะวันออก จนทำให้เรื่องของการกีดกันทางการค้ามีออกมาในทุกรูปแบบ หรือเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง เรื่อยมาจนถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายสายพันธุ์ จนทำให้โลกนี้ซวนเซกันทั้งโลก มาจนถึงเรื่องของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน จนก่อให้เกิดวิกฤติพลังงานแพง

สารพัดพายุที่ถาโถมเข้ามา ยิ่งซ้ำเติมฐานะของรัฐบาล โดยต้องออกกฎหมายกู้เงิน 2 ฉบับเพื่อให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินรวม 1.5 ล้านล้านบาทเพื่อรับมือการแพร่ระบาดรวมถึงการเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบและใช้เพื่อการฟื้นฟูประเทศ ซึ่งเท่ากับว่าหนี้ต่อหัวของคนไทยก็ยิ่งเพิ่มทวีคูณมากขึ้น จากการ “กู้เงิน” ที่ก็ต้องเป็นหน้าที่หลักต่อจากนี้ว่าคณะผู้บริหารประเทศจะบริหารหนี้ก้อนใหญ่นี้อย่างไรต่อไป

ปัญหาสารพัดรอพิสูจน์

ยามที่ประเทศขาดแคลนเงิน!! การใช้เงินทำนโยบายแต่ละนโยบาย เรียกได้ว่าต้อง “วัดใจ” กันไม่น้อย เพราะทุกบาททุกสตางค์ ก็กระเทือนวินัยการเงินการคลังไม่น้อย โดยเฉพาะการบริหารกรอบเพดานหนี้ตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังมาตรา 28 ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการตัดสินใจโดยโจทย์สำคัญ คือเพดานก่อหนี้ตามมาตรา 28 ที่จะสิ้นสุดขยายกรอบจาก 30% ของงบรายจ่ายเป็น 35% ในช่วงสิ้นเดือน ก.ย.นี้ รัฐบาลจะกลับมาบริหารให้อยู่ในกรอบวินัยที่ 30% ได้ตามเป้าหมายหรือไม่ 

เพราะทางคลังเองก็ตั้งใจจะลดเพดานหนี้ลงเหลือ 30% ให้ได้ในสิ้นปีนี้แต่โครงการประกันรายได้และการอุดหนุนสินค้าเกษตรของกระทรวงพาณิชย์ระลอกใหม่ก็จ่อคอหอยรอใช้เงินอยู่จึงต้องดูว่า รักษาการนายกฯ จะหาทางออกเรื่องนี้อย่างไรเพราะถือเป็นปัญหาใหญ่ระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังงัดกันอยู่

ลุยประกันรายได้ชาวนาปี 4

เนื่องจากโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรถือเป็นนโยบายใหญ่ ล่าสุดที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาดที่มี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน ก็เพิ่งเห็นชอบให้เดินหน้าโครงการอุดหนุนผู้ปลูกข้าวชุดใหญ่วงเงิน 150,127 ล้านบาทไปสด ๆ ร้อน ๆ ประกอบด้วยโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีที่ 4 มีเกษตรกรร่วม 4.68 ล้านครัวเรือน ใช้งบประมาณ 86,740 ล้านบาท โครงการไร่ละ 1,000 บาท เพื่อสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้กับชาวนาไม่เกินครอบครัวละ 20 ไร่ วงเงิน 55,364 ล้านบาท 

นอกจากนี้ยังมีมาตรการคู่ขนานอีก 3 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวชะลอการขายข้าวโดยให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรไร่ละ 1,500 บาทต่อรายต่อตัน โครงการช่วยเหลือดอกเบี้ย 3% ให้กับสหกรณ์ที่ชะลอการขายข้าวและโครงการช่วยเหลือดอกเบี้ย 3% ให้กับโรงสีที่เก็บสต๊อกข้าวไว้โดยทั้ง 3 โครงการใช้งบประมาณรวมกัน 8,022 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามตามขั้นตอน ต่อจากนี้กระทรวงพาณิชย์จะต้องเสนอโครงการทั้งหมดให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กบข.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาดูว่าโครงการนี้จะได้ไปต่อหรือไม่ หากไปต่อจะหาเงินจากที่ไหนเพราะมีข้อจำกัดจากเรื่องงบประมาณและการบริหารเพดานหนี้ตามกรอบวินัยการเงินการคลังมาตรา 28 ขวางทางอยู่เช่นกัน

ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้ว่าบรรดาภาคเอกชนเองต่างมองว่า เรื่องการสานต่อนโยบายระยะยาว โดยเฉพาะในเรื่องของการลงทุนจะมีความสำคัญมากกว่าเรื่องของการเมืองก็ตาม เพราะไม่ว่าใครจะเข้ามาบริหารประเทศก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากเดิม การเมืองก็คือการเมือง บริหารประโยชน์ลงตัวประเทศก็สงบ!! ก็ตาม

แต่ในใจแล้ว…เชื่อเถอะ…หากได้ผู้นำรัฐบาลที่ไม่สามารถกระตุก “ความเชื่อมั่น” ขึ้นมาได้ ก็อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะยาวก็เป็นไปได้!!

รออีก1เดือนลุ้นคำวินิจฉัย

ธนวรรธน์ พลวิชัย” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ บอกว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเพื่อรอวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ที่คาดว่าจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.นี้ ไม่มีผลต่อการทำงานและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เพราะมีการแต่งตั้งนายกฯ รักษาการดูแล การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ยังคงทำได้ตามปกติ

แต่สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังคงมีสัญญาณที่ดีจากภาคการส่งออกที่คาดว่าในปีนี้จะขยายตัวได้ 6-8% นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยได้ตามเป้าหมาย ส่งผลต่อรายได้ในช่วงปลายปีให้ขยายตัวมากขึ้น ขณะที่การปรับค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นตัวเพิ่มกำลังซื้อสำคัญขณะที่พืชผลทางการเกษตรในไตรมาสสุดท้ายของปี จะออกมากตามฤดูกาลทำให้รายได้ของภาคเกษตรสูงขึ้น จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะขยายตัวได้ 4% ส่งผลให้ทั้งปีอยู่ในกรอบ 3.-3.5% โดยไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่า 3% อย่างไรก็ตามหลังจากพ้นเดือน ก.ย.นี้แล้ว ต้องติดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะออกมาในรูปแบบใด และมีผลให้การทำงานของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ รวมถึงการชุมนุมทางการเมืองนอกสภาจะออกมาในรูปแบบใด หากไม่มีความรุนแรงและยังชุมนุมอยู่ในกรอบเชื่อว่าไม่มีผลต่อทั้งการท่องเที่ยว การลงทุนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจยังโตได้ตามกรอบ

สนั่นอังอุบลกุล” ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มองว่า ต้องรอผลการตัดสินจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในช่วงต่อไปว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เพราะผลที่ตามมา จะมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่สุดท้ายสิ่งที่เหมือนเดิม คือ สภาผู้แทนราษฎร ก็ยังเป็นสภาเดิม แต่อาจมีความเสี่ยงมากขึ้น หากต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ใช้สภาเหมือนเดิมก็ต้องติดตามดูว่าจะขับเคลื่อนประเด็นที่สำคัญในช่วงนี้ได้อย่างไรบ้าง แต่หากนายกฯ สามารถอยู่ต่อได้จนครบวาระ ก็อาจมีปัญหาในการประท้วงนอกสภาบ้าง และการดำเนินการทางการเมืองอาจยากลำบากมากขึ้น ในช่วงนี้แม้นายกฯ จะหยุดปฏิบัติหน้าที่แต่การประชุมครม.และการพิจารณาต่าง ๆของรัฐบาลก็ยังมีมติต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของภาคเอกชน คงเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป แต่อาจมีบางส่วนบ้างที่อาจเข้าสู่โหมด เวท แอนด์ ซี หรือการชะลอดูไปก่อน เช่น เรื่องการลงทุน เพื่อรอความชัดเจนบางส่วน สิ่งสำคัญที่ภาคเอกชน มองตอนนี้คือ การเร่งสร้างความเชื่อมั่น และความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย ใน 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ และในปี 65 ถือว่าสำคัญมาก เพราะขณะนี้การท่องเที่ยวและการส่งออกกลับมาแล้ว ซึ่งผลที่ออกมายังไม่กระทบต่อทั้ง 2 ด้าน ตอนนี้ในเบื้องต้นทางภาคเอกชนก็ยังมองกรอบการเติบโตปีนี้ อยู่ที่ 2.75-3.5% เหมือนเดิมอยู่

เร่งดึงดูดต่างประเทศลงทุนไทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“อมรเทพ จาวะลา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มองว่า การเปลี่ยนแปลงตัวนายกรัฐมนตรี เชื่อว่าไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน เนื่องจากถึงไม่เปลี่ยนตอนนี้ แต่อีก 6 เดือนข้างหน้าก็เปลี่ยนแปลงอยู่แล้วจากรัฐบาลครบเทอม ต้องเลือกตั้งใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญตอนนี้คือการเร่งจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน เพราะต่างชาติได้รอการลงทุนอยู่ ซึ่งในเวลานี้ได้มีการย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังเวียดนาม และอินโดนีเชีย แต่ไม่มีไทย ซึ่งตรงนี้ ผู้กำหนดนโยบาย รวมถึงรัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตระหนักให้มากว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้ต่างชาติย้ายฐานการผลิตมายังไทย

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนในตลาดอาจกังวลการประท้วงที่อาจยกระดับรุนแรงขึ้น เพราะต้องการคาดหวังผลมากกว่าการดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปี แต่หากดูตอนนี้ก็ยังไม่เห็นผลกระทบ ขณะที่งบประมาณ ปี 66 ได้ผ่านการพิจารณาจากสภาแล้ว ซึ่งถือว่านโยบายต่าง ๆ การใช้จ่ายงบประมาณ จะไม่หยุดชะงักและไม่สะดุด โดยปัจจัยที่นักลงทุนติดตามมากกว่าคือปัจจัยต่างประเทศ เช่น ดอกเบี้ยนโยบายธนาคารกลางสหรัฐ มากกว่าที่จะเป็นปัจจัยในประเทศที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องและดอกเบี้ยไทยก็ขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างที่บอกปัญหาน่าจะอยู่ในเรื่องของการทำอย่างไรให้เอกชนให้ความสนใจประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ.

…ทีมเศรษฐกิจ…

By admin